ปลาหมอ ปลาไทย ที่เป็นที่มาของสำนวนไทย

ปลาหมอ ไทยรู้จักกันในหลายชื่อ ในแต่ละภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกต่างกัน โดยที่ภาคกลางจะเรียกปลาหมอหรือปลาสะเด็ด ภาคอีสานจะเรียกว่าปลาเข็งที่แปลว่าแข็ง ปลาหมอมีปอดเล็กๆ สามารถเห็นได้ว่า ปลาหมอจะขึ้นมาหายใจในผิวน้ำบ่อย ปลาหมอสามารถทำเมนูอาหารได้หลายอย่าง เป็นปลาประจำถิ่นที่ใครๆก็เคยได้ลิ้มลอง โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด ในสำนวนที่ว่า ปลาหมอตายเพราะปากนั้น มาจากปลาหมอจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ คนจับปลาซึ่งอาศัยช่วงเวลานี้ในการจับปลาหมอ โดยการเหวี่ยงแห ลักษณะการดำรงชีวิตของปลาหมอนั้นทำให้ตัวเองโดนจับกิน อีกความหมายหนึ่ง ในสำนวนนี้ก็สามารถแปลได้ว่า เป็นคนที่ไม่มีความลับต่อใคร ความลับนั้นเป็นโทษต่อตัวเอง ปลาหมอเป็นปลาที่มีก้างเยอะ ผู้รับประทานจึงต้องระมัดระวังในการกิน การกินปลาหมอเป็นการฝึกความใจเย็น เพราะว่าถ้าจะให้กินแบบก้างติดคอนั้น ต้องใช้เวลาเกลี่ยออก และยังต้องใช้ลิ้นในการกระจายเนื้อปลาเพื่อหาว่ายังมีก้างเหลืออยู่หรือเปล่า ก่อนที่จะกลืนลงไป เพราะคงไม่มีใครอยากกินเนื้อปลาที่ก้างยังเต็มอยู่ เหมาะกับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะใช้เวลาเคี้ยวนาน ทำให้กินอาหารได้น้อยลง คนรุ่นใหม่จะไม่ค่อยรู้จักปลาหมอเท่าไหร่นัก เพราะกินยาก แล้วก็สามารถหาปลาชนิดอื่นทดแทนได้ ซึ่งปลาหมอนี้จะอยู่ในเมนูกับข้าวพื้นบ้าน หรือแบบโบราณ ที่ไม่ค่อยได้รับการนิยมมากนักเพราะทานยาก แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้อยู่ สำหรับใครที่อยากลองรับประทานปลาหมอแต่ไม่รู้จะ หาลองได้ที่ไหน คุณสามารถเดินทางไปจังหวัดภาคอีสาน หรือภาคเหนือ เพราะคนในภาคอย่างนิยมกินอยู่ ประวัติความเป็นมาของ ปลาหมอ ปลาหมอมีเนื้อแน่นก็จริง แต่ในเนื้อแน่นๆนั้นก็มีก้างเต็มไปหมด เป็นปลาเนื้อหวานมันพิเศษ คนจะสามารถเห็นตาหมอขายตามท้องตลาดเยอะขึ้นในเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ […]