ชวนมารู้จัก ปลา บู่ และการสืบพันธ์ของปลา ?

ชวนมารู้จัก ปลา บู่ และการสืบพันธ์ของปลา ?!

ในบรรดานิทานพื้นบ้านไทย ปลาที่พบบ่อยที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น ปลา บู่ บทความนี้จะชวนทุกคนมารู้จัก ปลา บู่ และสายพันธ์ของ ปลา บู่  กันค่ะ มาดูกันเลย

ปลา บู่ มีหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น บู่ทราย บู่จาก บู่ทอง บู่เอื้อย บู่สิงโต  โดย ปลาบู่ มีชื่อสามัญว่า  Sand Goby,   Marbled Sleepy Goby นอกจากนี้ ปลา บู่ ยังมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Oxyleotris  mamorata Bleeker อีกด้วยค่ะ

สำหรับรูปร่างและลักษณะของ ปลาบู่  นั้น จะมีจุดเด่นอยู่ที่ ปลบู่  มีลักษณะลำตัวกลมยาว มีความลึกลำตัวประมาณ 1 ใน 3.5 ของความยาวมาตรฐานของลำตัว มีส่วนหัวยาวเป็น  1  ใน  2.8   ของความยาวมาตรฐานของลำตัว 
หัวค่อนข้างโต  และด้านบนของหัวแบนราบหัวมีจุดสีดำประปรายปากกว้างใหญ่เปิดทางด้านบนตอนมุมปากเฉียงลงและยาวถึงระดับกึ่งกลางตา ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบน บริเวณขากรรไกรบนและล่างของ ปลาบู่  มีฟันแหลมซี่เล็ก ๆ ลักษณะฟันเป็นแบบฟันแถวเดียว ลูกตาลักษณะโปนกลมอยู่บนหัวถัดจากริมฝีปากบนครีบหูและครีบหาง มีลักษณะกลมมนใหญ่มีลวดลายดำสลับขาว มีก้านครีบอ่อนอยู่  15 – 16  ก้าน  ครีบหลัง  2  ครีบ ครีบอันหน้าสั้นเป็นหนาม 6 ก้าน เป็นก้านครีบสั้น และเป็นหนาม ครีบอันหลังเป็นก้านครีบอ่อน  11  ก้าน  ครีบท้องหรือครีบอกอยู่แนวเดียวกับครีบหูและมีก้านครีบอ่อน 5 ก้าน และ สีตัวของปลาบู่ทรายแตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่อาศัย  ปลาบู่ทรายจัดเป็นปลาขนาดกลางและเป็นปลาชนิดเดียวในครอบครัวนี้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปกติมีขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร เคยพบยาวถึง 60 เซนติเมตร

ปลา บู่

ลิงก์ : https://commons.wikimedia.org/wiki/File
:Oxyel_marmor_080425_7658_tdp.jpg

ปลา บู่ เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศซึ่งสามารถทำรายได้เข้าประเทศแต่ละปีมีมูลค่าหลายสิบล้านบาท  ไม่ว่าจะเป็น  ฮ่องกง  สิงคโปร์  มาเลเซีย  เป็นต้น

นอกจากนี้ ปลา บู่ ทราย ยังเป็นปลาที่เราสามารถพบได้ทั่วไปในน้ำจืดและน้ำกร่อยเล็กน้อยในหลายประเทศโดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะมลายู ได้แก่ บอร์เนียว เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน ไทย  เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทย พบ ปลาบู่ ขยายพันธุ์ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง  และสาขาทั่วทุกภาคตามหนองบึง และ อ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เช่น  แม่น้ำเจ้าพระยา  ปากน้ำโพ  บึงบอระเพ็ด  แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำท่าจีน   อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  อ่างเก็บน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา  อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์  จังหวัดอุตรดิตถ์  อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี  อ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง  จังหวัดยะลา จังหวัดสุโขทัย  จังหวัดพิจิตร  จังหวัดพิษณุโลก และทะเลน้อย จังหวัดสงขลาอีกด้วย

ทำความรู้จัก ระบบสืบพันธ์ของ ปลา บู่ ?

ปลา บู่

ลิงก์ : https://commons.wikimedia.org/wiki/File
:Butis_butis_%28Hamilton,_1822%29.jpg

สำหรับการสืบพันธุ์ของ ปลาบู่ จะมีความแตกต่างของทั้งสองเพศเมีย -เพศผู้อย่างเห็นได้ชัด  การสังเกตลักษณะความแตกต่างระหว่างปลา บู่ เพศผู้และเพศเมีย  จะสารถดูได้จากอวัยวะเพศที่อยู่ใกล้รูทวาร  ปลาเพศผู้มีอวัยวะเพศเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กสามเหลี่ยมปลายแหลมส่วนตัวเมียมีอวัยวะเพศเป็นแผ่นเนื้อขนาดใหญ่และป้านตอนปลายไม่แหลมแต่เป็นรูขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายถ้วยน้ำชาขนาดเล็ก ไฮโลไทย เมื่อพร้อมผสมพันธุ์ปลายอวัยวะเพศทั้งตัวผู้และเมียมีสีแดง   บางครั้งเห็นเส้นเลือดฝอยสีแดงที่มาเลี้ยงอวัยวะเพศได้ชัดเจนมากๆเลยค่ะ

เมื่อถึงการเจริญพันธุ์และฤดูกาลวางไข่  ปลาบู่ โตเต็มวัยเมื่อมีความยาวประมาณ  30  เซนติเมตรขึ้นไป
ปลาบู่ที่สามารถขยายพันธุ์ได้มีขนาดตั้งแต่  8  เซนติเมตรขึ้นไปสำหรับปลาเพศเมียที่มีรังไข่แก่ เต็มที่มีขนาดความยาวสุดปลายหาง  12.5  เซนติเมตร        น้ำหนัก  34  กรัม  และเพศผู้มีถุงน้ำเชื้อแก่เต็มที่มีความยาว  14.5  เซนติเมตร
น้ำหนัก 44  กรัม  ปลาบู่ จะเริ่มสร้างอวัยวะเพศภายในตั้งแต่เดือนมกราคมซึ่งในระยะแรกยังไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป็นรังไข่หรือถุงน้ำเชื้อ   เมื่อถึงเดือนมีนาคมจึงจะแยกออกได้โดยรังไข่จะมีจุดสีขาวเล็ก ๆ  แล้วเจริญเป็นเม็ดไข่ต่อไป  แต่ถ้าเป็นถุงน้ำเชื้อก็จะเป็นสีขาวทึบขึ้นจากเดิม   รังไข่ที่แก่จัดมีสีเหลืองเข้ม  มีเม็ดไข่อยู่เต็มและมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง  ส่วนถุงน้ำเชื้อที่แก่จัดจะมีลักษณะเป็นลายมีรอยหยักเล็กน้อย และมีสีขาวทึบ  ปลาบู่ สามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปียกเว้นในช่วงฤดูหนาว  ตลอดฤดูกาลวางไข่ปลา บู่ สามารถวางไข่ได้ประมาณ  3  ครั้งต่อปีเลยทีเดียวค่ะ

       สำหรับพฤติกรรมการผสมพันธุ์และวางไข่นั้น  การผสมพันธุ์ปลา บู่ ในธรรมชาติพบว่าปลา บู่ ตัวผู้จะหาสถานที่ในการวางไข่  ได้แก่  ตอไม้  เสาไม้  ทางมะพร้าว   ฯลฯ แล้วทำความสะอาดวัสดุดังกล่าว  หลังจากนั้นตัวผู้จะเข้าเกี้ยวพาราสีพร้อมไล่ต้อนตัวเมียให้ไปที่รังที่เตรียมไว้เพื่อการวางไข่  การผสมพันธุ์ปลา บู่ เริ่มตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงตอนเช้ามืด โดยผสมพันธุ์แบบภายนอกตัวปลา  คือ  ตัวเมียปล่อยไข่ออกมาติดกับวัสดุแล้ว ตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสม  โดยที่ไข่ปลา บู่ จะติดกับตอไม้  เสาไม้หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ปลา บู่ สามารถวางไข่ติด และตัวผู้จะเฝ้าดูแลไข่
โดยใช้ครีบหูหรือครีบหางพัดโบก ไปมา  ไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักเป็นตัวภายในเวลา  28  ชั่วโมง 
ที่อุณหภูมิ  25 – 27  องศาเซลเซียสอีกด้วยค่ะ

นอกจากนี้ปลา บู่ ยังจัดเป็นปลาที่มีรังไข่แบบ  2  พู  ปลาบู่ที่มีขนาด ความยาว  15.2  เซนติเมตร มีน้ำหนักรังไข่  1.6  กรัม และมีจำนวนไข่ประมาณ   6,800 ฟอง และปลาที่มีความยาว  21.5  เซนติเมตร มีน้ำหนักรังไข่  4.7  กรัม
คิดเป็นไข่ประมาณ  36,200  ฟอง  วิวัฒนาการของไข่ปลา บู่ ไข่ที่ยังไม่ได้รับการผสมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.83  มิลลิเมตร  ความยาวของไข่ประมาณ  1.67  มิลลิเมตรเมื่อยึดติดกับวัสดุ   ลูกปลาบู่ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวหลุดออกจากเปลือกไข่จมลงสู่พื้นประมาณ 32   ชั่วโมง   ถึง 5 วัน ไฮโลไทยได้เงินจริง แล้วลอยไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาอายุ 2 วันหลังฟัก ลูกปลา   เริ่มกินอาหาร   เนื่องจากถุงไข่แดงยุบหมดและเห็นปากชัดเจน  มีการว่ายน้ำใน  ลักษณะแนวดิ่ง
คือ พุ่งขึ้นและจมลง มีความยาวเฉลี่ย  4  มิลลิเมตร อายุประมาณ   7  วัน  ลูกปลามีความยาวประมาณ  4.6  มิลลิเมตร  มีลายสี ดำเข้มที่บริเวณส่วนท้องด้านล่างไปจนถึงโคนครีบหางตอนล่าง อายุประมาณ   15  วัน  ลูกปลามีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น  5.05  มิลลิเมตร อายุประมาณ   20  วัน  ลูกปลามีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น  7.6  มิลลิเมตร อายุประมาณ 30 วัน  ลูกปลามีความยาวประมาณ   8 – 10   มิลลิเมตร    เกิดลายพาดขวางลำตัวคล้ายพ่อแม่  ส่วนเนื้อใสไม่มีลายและสามารถมองเห็นอวัยวะภายใน อายุประมาณ  37 – 45  วัน  ลูกปลามีลักษณะคล้ายพ่อแม่เพียงแต่มีขนาดเล็ก
ส่วนที่เป็นเนื้อใสเปลี่ยนเป็นขุ่นสีน้ำตาลเหลือง

ปลา บู่ สายพันธ์ ?

ปลา บู่

ลิงก์ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/31/Rhinogobius_sp._
CB%28Hamamatsu%2CShizuoka%2CJapan%29.jpg

สำหรับ วงศ์ปลา บู่ เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ทั้งในทะเลลึกกว่า 60 เมตร จนถึงลำธารบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และพบในประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gobiidae เป็นต้นค่ะ

จุดเด่นของ ปลาบู่ คือมีลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน
มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว
ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่เลยทีเดียว

ปลาบู่ เป็นเป็นปลากินเนื้อ กินแมลง, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาอื่นเป็นอาหาร วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ในทะเลและน้ำกร่อย พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด

นอกจากนี้ปลา บู่ ยังเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง และปลา บู่ นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด โดยเฉพาะเมนูอาหารจีน เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพง รวมทั้งมีสรรพคุณในการปรุงยา ในปลาชนิดที่มีขนาดเล็กและสีสันสวยงาม
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับปลา บู่ และการสืบพันธ์ของปลา บู่ นั้น น่านำมาเลี้ยง น่าสนใจมากๆเลยใช่ไหมล่ะคะ
ปลาบู่ยังสามารถทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงปลาได้อีกด้วยนะคะ เพราะปลาบู่จัดเป็นหนึ่งในปลาเศรษฐกิจอีกด้วยค่ะ

FISHING