ทำความรู้จัก ปลา สลิด เปิดฮาวทูวิธีเพาะพันธพร้อมเทคนิคเลี้ยงปลาสลิด ?

ทำความรู้จัก ปลา สลิด เปิดฮาวทูวิธีเพาะพันธพร้อมเทคนิคเลี้ยงปลาสลิด ?

หากจะกล่าวถึงปลาที่นำมาประกอบอาหาร คงจะหนีไม่พ้น ปลา สลิด  เป็นแน่ แต่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าปลาสลิด นี้เป็นปลาชนิดอะไร บทความนี้จะมาเฉลยคำตอบกันค่ะ

ปลาสลิด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง เจ้าปลานี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ ปลาสลิด มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในปลาตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำ เหล่านี้ล้วนเป็นจุดเด่นของปลาสลิด

ปลา สลิด มีขนาดโดยเฉลี่ย 10–16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับเป็นปลาในสกุล Trichopodus ที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วยค่ะ

ปลา สลิด มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ

ปลา สลิด

ลิงก์ : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Snakeskin_gourami.jpg

สำหรับ ปลา สลิด  การสืบพันธุ์เริ่มขึ้นในระหว่างเดือนเมษายนถึงสิงหาคม โดยจะวางไข่โดยการก่อหวอดตามผิวน้ำติดกับพืชน้ำหรือวัสดุต่าง ๆ มักวางไข่ในช่วงกลางวันที่มีแดดรำไร หลังวางไข่เสร็จแล้วตัวพ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 4,000–10,000 ฟอง ในการเลี้ยงทางเศรษฐกิจนิยมให้เป็นการผสมพันธุ์หมู่เลยทีเดียว

นอกจากนี้ ปลา สลิด เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็ม โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อและอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า “ปลาสลิดบางบ่อ” เลยทีเดียวค่ะ

ปลา สลิด ยังมีชื่อเรียกในภาษามลายูว่า เซอปัตซียัม ภาษาอังกฤษเรียกว่า “ปลากระดี่หนังงู” (Snakeskin gourami) และมีชื่อเรียกในราชาศัพท์อีกว่า “ปลาใบไม้” ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า “สลิด” เพี้ยนมาจากคำว่า “จริต” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงแนะนำให้เรียกปลาสลิดในหมู่ราชบริพารว่า “ปลาใบไม้” เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้ ในปัจจุบัน ยังมีการเลี้ยงปลา สลิด  เป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ และปลากระดี่มุก อีกด้วยค่ะ

การเพาะพันธ์ ปลาสลิด ?

ปลา สลิด

                สำหรับบทความนี้จะชวนทุกคนไปลงมือทำ ฮาวทูขั้นตอนการทำวิธีการพันธุ ปลาสลิด หากใครอยากลงมือทำแล้วไปดูวิธีการเพาะพันธ์ปลาเศรษฐกิจกันเลยค่ะ

สำหรับการคัดเลือกพันธุ์ปลาสลิด ปลาที่จะใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ควรเลือกตัวที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก ขนาดของปลาที่จะสามารถสืบพันธุ์ได้ ลำตัวจะต้องยาวกว่า 10 เซนติเมตรขึ้นไป แต่ไม่ควรมีขนาดยาวเกินกว่า 20 เซนติเมตร เพราะความปราดเปรียวของปลาที่มีขนาดโตจะน้อยลง อัตราส่วนปลาสลิด วผู้และตัวเมียที่จะปล่อยลงในบ่อนั้น ควรใช้ตัวเมีย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 1 ตัว

จากนั้นปลาสลิด จะวางไข่ ปลาสลิด จะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่งจะวางไข่ได้หลายครั้ง ประมาณคราวละ 4,000-10,000 ฟอง ดังนั้นการจัดบ่อเพาะเลี้ยงปลาสลิดจึงควรให้เสร็จภายในเดือนมีนาคมเท่านั้นนะตะ และบทความนี้เรายังมีฮาวทูจัดบ่อเพาะเลี้ยงอย่างไรให้ได้ลูกปลาสลิดเพิ่มมาฝากอีกด้วยค่ะ

เริ่มจากระบายน้ำเข้าบ่อผ่านตะแกรงที่มีช่องตาขนาด 1 มิลลิเมตร จนท่วมชานบ่อโดยรอบให้มีระดับสูง 20-30 เซนติเมตร ปลาจะเข้าก่อหวอดวางไข่มากขึ้น ทั้งอาณาเขตบ่อก็จะกว้างขวางกว่าเดิม เป็นการเพิ่มที่วางไข่และที่เลี้ยงตัวของลูกปลามากขึ้น

จากนั้นสาดปุ๋ยคอกที่ตากจนแห้ง บนบริเวณชานบ่อที่ไขน้ำให้ท่วมขึ้นมาใหม่นั้น ตามอัตราที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นในเรื่องการใส่ปุ๋ย จะทำให้เกิดไรน้ำและช่วยทำให้ผักหญ้าบนชานบ่อเจริญงอกงาม

ต่อจากนั้นปล่อยให้ผักหญ้าพันธุ์ไม้น้ำขึ้นรกในบริเวณชานบ่อหรือจะปลูกเพิ่มเติมได้ก็จะเป็นการดี เพราะพันธุ์ไม้น้ำซึ่งได้แก่ พวกผักบุ้ง แพงพวยและผักกระเฉด ปลาสลิดจะชอบใช้เป็นทำเลที่ก่อหวอดวางไข่ กิ่ง ใบและก้านของพันธุ์ไม้น้ำเหล่านี้ จะเป็นสิ่งสำคัญในการยึดเหนี่ยวหวอดมิให้ลมพัดกระจัดกระจายไป และเมื่อไข่ปลาฟักออกเป็นตัวแล้ว ก็จะเป็นที่ให้ลูกปลาได้อาศัยเลี้ยงตัวกำบังร่มเงาและหลบหลีกศัตรูได้เป็นอย่างดีจนกว่าจะแข็งแรงหลบหลีกลงน้ำลึกได้

ในส่วนของการวางไข่ ก่อนจะเริ่มวางไข่ ปลาสลิดตัวผู้จะเป็นฝ่ายตระเตรียมการ ขั้นแรกตัวผู้จะเลือกสถานที่ โดยการก่อหวอดไว้ในระหว่างต้นวัชพืชที่โปร่ง ๆ ไม่หนาทึบเกินไป เพราะปลาสลิดตัวเมียชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้ง

หลังจากนั้นเมื่อเตรียมหวอดเสร็จแล้ว ปลาก็จะเริ่มผสมพันธุ์กัน เวลาที่ปลาสลิดผสมพันธุ์กันนั้นมักเป็นเวลากลางวัน ยามที่มีแสงแดดอ่อน ๆ โดยปลาตัวผู้จะเริ่มไล่ต้อนปลาตัวเมียเข้าใต้บริเวณหวอด แล้วรัดท้องตัวเมียให้ไข่ออกมาพร้อมกับฉีดน้ำเชื้อออกผสมกับไข่ของตัวเมีย จากนั้นตัวผู้ก็จะอมไข่นี้ไปพ่นเข้าใต้หวอด ไข่จะลอยติดอยู่ในหวอด การผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่ปลาจะวางไข่จนกว่าจะหมดรุ่นของไข่แก่ในแต่ละคราว ลักษณะของไข่เป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ สีเหลือง

เมื่อปลาผสมพันธุ์วางไข่แล้ว พ่อปลาจะทำหน้าที่ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน และในขณะฟักไข่ ปลาตัวผู้จะไล่กัดปลาตัวเมียไม่ให้เข้าใกล้ปลาสลิด นอกจากเพาะให้ขยายพันธุ์ในบ่อดังกล่าว ยังใช้วิธีเพาะในภาชนะได้อีกด้วย ดังจะได้กล่าวให้ทราบต่อไปนี้ คือจากการที่ทดลองได้ผลมาแล้ว ใช้ถังไม้สักปากกว้าง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร ใช้น้ำคลองที่สะอาดใส่ให้น้ำมีความลึกเพียง 40 เซนติเมตร วางไว้กลางแจ้งทำเป็นเพิงคลุมถังขนาด 2 ใน 4 ของถังเพื่อกำบังแดด ใส่ผักบุ้งลงในถังประมาณ 3 ใน 4 ของเนื้อที่ภายในถัง ปล่อยแม่ปลาที่กำลังมีไข่แก่ลงไป 10 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว หลังจากปล่อยลงถังเพียง 4-6 วัน ปลาสลิดจะเริ่มก่อหวอดวางไข่ ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวและเติบโตเช่นเดียวกับการเพาะฟักในบ่อดิน จากนั้นจึงช้อนพ่อปลาแม่ปลาออกเลี้ยงลูกปลาในถังนี้ไปก่อน โดยให้ไข่ผงหรือไรน้ำเป็นอาหารไปสัก 2 สัปดาห์ ต่อจากนั้นก็ควรให้รำผงละเอียดโปรยให้กินต่อไปจนกว่าลูกปลาจะโตมีขนาดยาวได้ 2 เซนติเมตร จึงค่อยย้ายลูกปลานั้นนำไปปล่อยลงบ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ซึ่งได้เตรียมไว้แล้ว

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีวิธีเพาะลูกปลาสลิดอีกวิธีหนึ่งคือ การช้อนหวอดไข่จากบ่อเพาะเลี้ยงนำมาเพาะฟักในถังไม้สัก รอจนลูกปลาสลิดมีขนาดโต แล้วจึงปล่อยลงในบ่อ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกปลาสลิดมีชีวิตรอดอยู่ได้จำนวนมากกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเติบโตในบ่อเพาะเลี้ยงเอง เพราะในบ่อย่อมมีศัตรูของปลาสลิดอยู่เสมอไม่มากก็น้อยเช่น แมลงในน้ำ กบ ปลา งู ฯลฯ ซึ่งอาจจะคอยทำลายไข่และลูกปลา แต่อย่างไรก็ดีการกระทำโดยวิธีช้อนรังไข่จากบ่อมาเพาะฟักในถังไม้นี้ ยังไม่ดีเท่ากับปล่อยพ่อปลาแม่ปลาลงผสมกันในถังไม้ดังกล่าวในตอนต้น เพราะการช้อนหวอดไข่มาเพาะฟักในถังนั้น อาจมีแมลงในน้ำและไข่ปลาบางชนิดติดปะปนมากับหวอดด้วยค่ะ ซึ่งอาจเป็นศัตรูต่อลูกปลาสลิด ทำให้ลูกปลาสลิดรอดชีวิตน้อยลงกว่าวิธีแรกอีกด้วยค่ะ

สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักเป็นตัวภายในระยะ 24 ชั่วโมง โดยทยอยออกเป็นตัวเรื่อย ๆ ไข่จะออกเป็นตัวหมดภายใน 48 ชั่วโมง แต่ไข่บางฟองที่ไม่ได้รับการผสม จะมีลักษณะขุ่นเป็นราขึ้นสีขาวไม่ออกเป็นตัวเลยทีเดียวค่ะ

 การเตรียมบ่อกับ ปลาสลิด ?

ปลา สลิด

สำหรับเทคนิคและขั้นตอนการเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงปลาสลิด จะเริ่มจาก การใส่ปูนขาว บ่อดินซึ่งขุดใหม่โดยทั่วไปคุณภาพของดินมักจะเป็นกรด ควรใส่ปูนขาว ที่มีคุณสมบัติเป็นด่างลงไปเพื่อแก้ความเป็นกรดของดินให้เจือจางลง โดยการโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ อัตราของปูนขาวควรใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร เมื่อความเป็นกรดของดินลดลงไปแล้ว น้ำที่เข้ามา

ในบ่อปลาสลิด ใหม่ก็จะรักษาความเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อยไว้ได้ จัดว่าเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงปลาสลิด

ต่อมาให้กำจัดสิ่งรก ถ้าเป็นบ่อเก่า จำเป็นอย่างยิ่งต้องกำจัดวัชพืชต่าง ๆ ให้หมด หากบ่อตื้นเขิน ต้องสูบน้ำออก แล้วลอกเลนและตบแต่งคันบ่อให้มั่นคงแข็งแรงตากบ่อนั้นให้แห้งประมาณ 1สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดช่วยฆ่าและกำจัดเชื้อโรค และสำหรับบ่อเก่าที่ไม่จำเป็นต้องลอกเลน หลังจากกำจัดพวกวัชพืชต่าง ๆ ออกแล้วใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร ทุบโล่ติ๊นให้ละเอียดแช่น้ำไว้สัก 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลาย ๆ ครั้งจนหมดแล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ เพื่อกำจัดปลาและสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่เป็นศัตรูของปลา ศัตรูปลาที่ตายลอยขึ้นมานั้นต้องเก็บออกทิ้งให้หมด อย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อ บ่อที่ใส่โล่ติ๊นแล้วควรทิ้งไว้ประมาณ 7-8 วัน เพื่อให้โล่ติ๊นสลายตัวหมดเสียก่อน จึงค่อยนำพันธุ์ปลาสลิด ปล่อยลงเลี้ยงต่อไป

ต่อจากนั้นเตรียมเพาะตะไคร่น้ำ ตะไคร่น้ำเป็นอาหารธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับลูกปลาสลิด ขนาดเล็กและใหญ่ ดังนั้นในบ่อปลาควรให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยการใช้ปุ๋ยคอกโรยให้ทั่วบ่อในช่วงที่กำลังตากบ่ออยู่ ในอัตราส่วนปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 1 ไร่ แล้วไขน้ำเข้าบ่อสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตรจากก้นบ่อ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ตะไคร่น้ำหรือที่เรียกว่าขี้แดดก็จะเกิดขึ้นในบ่อ จากนั้นจึงปล่อยน้ำเข้าบ่อตามระดับที่ต้องการถ้าเป็นบ่อใหม่ ภายหลังที่ใส่ปุ๋ยและปล่อยน้ำเข้ามาแล้ว ควรนำเชื้อตะไคร่น้ำ ซึ่งหาได้จากน้ำที่มีสีเขียวจัดโดยทั่วไป มาใส่ลงในบ่อเพื่อเร่งให้เกิดตะไคร่น้ำเร็วขึ้น

จากนั้นให้ใส่พันธุ์ไม้น้ำในบ่อปลา ในบ่อปลาสลิด นี้ควรปลูกพันธุ์ไม้น้ำจำพวกผักบุ้ง แพงพวยและผักกระเฉด เพื่อให้เหมาะกับนิสัยและความเป็นอยู่ของปลาสลิด การปลูกพันธุ์ไม้น้ำดังกล่าว ควรจะปลูกตามบริเวณชานบ่อที่มีน้ำตื่น ๆ พันธุ์ไม้น้ำเหล่านี้นอกจากจะเป็นอาหารของปลาสลิดและให้ร่มเงาแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปลาใช้วางไข่ในฤดูฝนอีกด้วย

ขั้นตอนถัดไปให้ ใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในบ่อก็เพื่อให้บ่อปลามีอาหารธรรมชาติพวกพืชน้ำ และไรน้ำเล็ก ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ ปุ๋ยคอก แล้วโรยตามริมบ่อในอัตราเนื้อที่ 160 ตารางเมตรต่อปุ๋ย 10 กิโลกรัม หรืออาจใช้ปุ๋ยหมักกองไว้ที่ริมบ่อด้านใดด้านหนึ่ง ปุ๋ยหมักนี้ใช้หญ้าสดที่ตายทิ้งกองอัดให้แน่น แล้วใส่ปุ๋ยคอกผสมลงไปด้วย เพื่อให้หญ้าสดสลายตัวเร็วเข้า ปุ๋ยเหล่านี้จะเป็นอาหารของพวกพืชน้ำและไรน้ำทำให้เจริญเติบโตเพื่อเป็นอาหารของปลาสลิด ต่อไป

ขั้นตอนสุดท้ายให้ ปล่อยปลาสลิด ลงเลี้ยง เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยปลาลงบ่อควรเป็นเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น เพราะในเวลาดังกล่าวนั้นน้ำในบ่อมีอุณหภูมิไม่ร้อนจัด ทำให้ปลาที่ปล่อยลงไปใหม่ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย อัตราส่วนของปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงในเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร ควรใช้ปลาประมาณ 5-10 ตัว เป็นอย่างมาก

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับปลาสลิด และการเพาะเลี้ยงปลาสลิด รวมถึงเทคนิคและฮาวทุการทำบ่อปลาสลิด นี้ ไม่ยากเกินไปใช่ไหมล่ะคะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปทำกันได้เลยค่ะ มาดูกันเลย

FISHING