ทำความรู้จัก ปลาคัง ปลาเศรษฐกิจ ที่เกษตรกรต้องการ ?

ทำความรู้จัก ปลาคัง ปลาเศรษฐกิจ ที่เกษตรกรต้องการ ?

หากจะกล่าวถึงปลาน้ำจืด คงจะหนีไม่พ้น ปลาคัง น้อยคนนักจะรู้จักเจ้าปลาชนิดนี้ ซึ่งบทความนี้จะชวนทุกคนมาทำความรู้จัก ปลาคัง กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ

ปลา คัง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลากดคัง เป็นปลาน้ำจืดเนื้ออ่อน ที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เจ้าตัวปลาคังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystus wyckioides นอกจากนี้ยังชื่อเรียกอื่นที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ปลากดแก้ว ปลากดหางแดง ปลากดเขี้ยว ปลากดข้างหม้อ เป็นต้นและ ส่วนมาก ปลา คัง จะพบมากตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป ทั้งแม่น้ำลำคลอง อ่างเก็บน้ำ และเขื่อนอีกด้วยค่ะ

ปลาคัง

ลิงก์ : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%87

ปลากดคัง นั้นมี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckioides และปลาคังเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากด หรือ Bagridae ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร เจ้าปลาคังนี้มีน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม และปลาคังที่ตัวที่ใหญ่ที่สุดยาวถึง 2.3 เมตร หนักถึง112 กิโลกรัม แต่ส่วนมากพบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50–60 เซนติเมตร ปลาคัง
จะมีลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง และยังมีครีบหาง รวมไปถึง ครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือสีส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาคและในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่

สำหรับลักษณะทั่วไปของ ปลา คัง จัดเป็นปลาขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวโตเต็มวัยประมาณ 1-3 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยจะมีลำตัวยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งเราอาจพบปลาคัง ที่หนัก 30-70 กิโลกรัมได้ รูปร่างของปลาคัง ค่อนข้างเพรียวยาว ส่วนหัวแบนกว้างและมีด้านบนเรียบลื่น ตำแหน่งปากอยู่ต่ำ
ฟันแหลมคม มีหนวด 4 คู่อยู่ตรงจมูกกับขากรรไกร หนวดที่ขากรรไกรจะเป็นเส้นยาวจนเลยช่วงกลางลำตัวไป
ด้านบนลำตัวเป็นสีม่วงปนเทาดำ ท้องด้านล่างค่อนข้างขาว ผิวเป็นมันเงาไม่มีเกล็ด ครีบทั่วลำตัวมีทั้งแบบก้านครีบแข็งและอ่อนผสมกัน แต่ละส่วนมีสีต่างกันไปดังนี้ ครีบหูเป็นสีเทาดำ ครีบหางเป็นสีแดงเข้ม ครีบท้องเป็นสีขาวเหลืองแต่มีปลายครีบเป็นสีแดง และครีบไขมันเป็นสีม่วงอมดำอีกด้วยค่ะ

ฮาวทูการเพาะเลี้ยง ปลา คัง ?

ปลาคัง

                นอกจากนี้ ปลาคัง ยังเป็นที่นิยมเพราะเลี้ยงอย่างมากในหมู่เกษตรกร บทความนี้จะชวนทุกคนมาดูวิธีการเพาะเลี้ยง ปลาคัง กันค่ะ

สำหรับการเพาะพันธุ์ ปลา คัง หรือปลากดคัง นั้น เราจะมีวิธีการขยายพันธุ์ปลาแบบเฉพาะเลยค่ะ โดยเป็นการผสมเทียม เนื่องจากการปล่อยให้ผสมพันธุ์กันอย่างอิสระนั้นได้ผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควรค่ะ

เริ่มต้นจากการหาพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือจากแหล่งเพาะเลี้ยงที่เชื่อถือได้ จากนั้นจึงนำมาเลี้ยงในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้จนสมบูรณ์เพียงพอ สำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่เลือกใช้จะต้องมีลักษณะเด่นของสายพันธุ์ชัดเจน
ร่างกายแข็งแรง และปลาคังต้องไม่มีโรคแทรกซ้อน

สำหรับช่วงของการบำรุงพ่อแม่พันธุ์จะใช้วิธีปล่อยปลาลงบ่อเลี้ยงด้วยอัตราส่วน 1 ตัวต่อพื้นที่ 5 ตารางเมตร เน้นให้อาหารที่มีโปรตีนสูงจนกระทั่งปลามีความพร้อมสำหรับการขยายพันธุ์ ส่วนปลาคังตัวเมียจะมีท้องที่อวบอูมกว่าปกติและมีความอ่อนนิ่ม ส่วนปลาคังตัวผู้จะมีลำตัวเรียวยาว น้ำหนักโดยเฉลี่ยของปลาพ่อแม่พันธุ์ควรอยู่ที่ประมาณ 2-3 กิโลกรัมขึ้นไป

ต่อจากนั้น หากปลาคังแม่พันธุ์พร้อมแล้วก็เริ่มทำการฉีดฮอร์โมน โดยใช้เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetatae ร่วมกับตัวยา domperidone เพื่อเสริมการออกฤทธิ์ ฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อข้างลำตัวหรือช่วงช่องท้องก็ได้ รูปแบบการฉีดฮอร์โมนสามารถเลือกตามความสะดวกและความเหมาะสมได้ 2 แบบ ดังนี้.

  1. การฉีดครั้งเดียว จะใช้ความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ 15-20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม หลังฉีด 12-13 ชั่วโมงก็นำแม่ปลามารีดไข่เพื่อรอผสมเทียมได้อีกด้วย
  2. การฉีด 2 ครั้ง จะใช้ความเข้มข้นของฮอร์โมนในครั้งแรกที่ 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม จากนั้นเว้นช่วงประมาณ 6 ชั่วโมงค่อยฉีดฮอร์โมนเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม หลังฉีด 6-9 ชั่วโมงก็นำแม่ปลามารีดไข่ผสมเทียมได้เลยทีเดียวค่ะ

ปลาคัง แหล่งสร้างรายได้?

ปลาคัง

ลิงก์ : https://www.technologychaoban.com/fishery-technology/article_49013

เกษตรกรหลายคนเริ่มหันมาเพาะเลี้ยง ปลา คัง กันมากขึ้น เนื่องจากการเลี้ยง  ปลา คัง สามารถเป็นหนึ่งในช่องทางการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรได้ดีอีกด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนมาดูวิธีการเลี้ยง  ปลา คัง กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลย 

สำหรับการเลี้ยง ปลา คัง หรือปลากดคังในกระชัง ซึ่งการเพาะเลี้ยงปลาคังในกระชัง นี้ส่วนใหญ่มักใช้กระชังอวนขนาดกว้างยาวด้านละ 5 เมตร และติดตั้งในบ่อดินกินพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ใช้ลูกปลาคังขนาด 2 นิ้วจำนวน 700-800 ตัวต่อกระชัง คิดเป็นอัตราส่วน 30 ตัวต่อตารางเมตร อาหารที่ใช้เป็นเนื้อปลาบดและปลาทะเลสับ ให้วันละ 2 ครั้งด้วยน้ำหนักประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา ทำแบบนี้เป็นเวลา 6 เดือนก็จะได้ปลาคังโตเต็มวัย 300-400 กิโลกรัมต่อกระชัง แต่ละตัวจะมีน้ำหนักราวๆ ครึ่งกิโลกรัมอีกด้วยค่ะ

สำหรับการเลี้ยง ปลาคัง หรือปลากดคังในบ่อดิน ซึ่งการเลี้ยงในลูกปลาคังขนาด 6 นิ้ว จำนวน 1100 ตัว
ในบ่อดินขนาด 1000 ตารางเมตร ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนจะอยู่ที่ปลา 1.1 ตัวต่อตารางเมตร ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปแบบเดียวกับที่ใช้เลี้ยงปลาดุกวันละ 2 ครั้ง เมื่อครบกำหนด 8 เดือน จะได้ปลาประมาณ 370 กิโลกรัม โดยมีขนาดปลาไม่สม่ำเสมอ เริ่มตั้งแต่ตัวละ 0.3 กิโลกรัมไปจนถึง 0.7 กิโลกรัมเลยทีเดียวค่ะ

นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสำหรับการเลี้ยง ปลา คัง ร่วมกับปลานิล โดยใช้ลูกปลาคังขนาด 6 นิ้ว จำนวน 1000 ตัว
และลูกปลานิลขนาด 5-7 เซนติเมตรอีก 500 ตัว เลี้ยงรวมในบ่อดินขนาด 1000 ตารางเมตร ให้อาหารเม็ดปลาดุกวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 8 เดือน ได้ผลผลิตเป็นปลาคังประมาณ 413 กิโลกรัม ปลานิลประมาณ 200 กิโลกรัม และได้ลูกปลานิลอีก 20000 ตัว ทั้งปลาคังและปลานิลจะได้ขนาดตัวไม่สม่ำเสมอ แต่ก็มีอัตราการรอดชีวิตค่อนข้างสูงเลยทีเดียวค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับบทความที่ได้นำมาฝากนี้ ปลาคังจัดได้ว่าเป็นปลาที่สามารถสร้างกำไรและรายได้ที่สูงมากเลยทีเดียวค่ะ นอกจากนี้ปลาคังยังจัดเป็นปลาเศรษฐกิจของไทยอีกด้วยนะคะ สำหรับฮาวทูการเลี้ยง ปลาคัง  หรือปลากดคังที่ได้นำมาในวันนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพาะเลี้ยงในกระชังนะคะ ในส่วนวิธีการผสมเทียมปลากดคัง หรือปลาคังชนิดนี้นั้น ยังสามารถทำได้โดยการฉีดฮอร์โมน โดยใช้เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ อย่าง buserelin acetatae ร่วมกับตัวยา domperidone เพื่อเสริมการออกฤทธิ์ หลังจากนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อข้างลำตัวหรือช่วงช่องของปลาคังเพศเมียเพื่อให้ปลาคังเพศเมียสามารถออกลูกหลานได้อีกด้วย นับได้ว่าปลาคังอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจเพื่อหารายได้ เสริมสร้างครอบครัวเลยทีเดียวค่ะ

FISHING