ในบรรดาปลาที่เลี้ยงในบ่อซึ่งคนส่วนมากนิยมเลี้ยงเพื่อเสิรมฮวงจุ้ยนั้นเห็นจะหนีไม่พ้น ปลาคราฟ แต่จะมีใครบ้างที่รู้สายพันธ์ของ ปลาคราฟ ที่เราชื่นชอบเลี้ยงกัน บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก 10 สายพันธ์ ปลาคราฟ กันค่ะ
- โคฮาคุ หรือ Kohaku เคยมีคำกล่าวที่ว่า “ถ้าจะเริ่มต้นให้เริ่มต้นที่โคฮาคุ” เนื่องจากสายพันธ์โคฮาคุนี้ เป็นสายพันธุ์ที่เก่าแก่และเป็นที่นิยมมากที่สุดค่ะ จุดเด่นของสายพันธ์นี้จะเป็นลำตัวสีขาวแดง และสายพันธ์โคฮาคุนี้จะมีสายพันธุ์ย่อยขึ้นอยู่กับลวดลายสีแดงบนตัว เช่น นิดัง โคฮาคุ และ ซันดัง โคฮาคุ เป็นต้นค่ะ
- โชว่า หรือ Showa หากจะกล่าวถึงสายพันธุ์ที่อายุน้อยที่สุดคงจะหนีไม่พ้น สายพันธ์โชว่า สายพันธ์นี้ถือกำเนิดเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 นี่เอง โชว่าสายพันธ์ ปลาคราฟ ลำตัวมี 3 สี ไม่ว่าจะเป็น ดำขาวและแดง สีดำจะเด่นกว่าสีขาว หากดูที่หัวของปลาคราฟ ถ้าเป็นสีดำนี้จะเป็นสายพันธ์โชว่า
- มาดู ไทโซซันโชกุ หรือ Taisho Sanshoku ซึ่งมีอีกชื่อที่มักจะเรียกกันติดปากว่า ซันเก้ น้น โดยสายพันธ์นี้ได้ตั้งชื่อตามยุคที่เกิดในญี่ปุ่นนั่นคือช่วง ไทโซ ในปี ค.ศ. 1912-1926 จุดเด่นของ ปลาคราฟ สายพันธ์นี้จะสังเกตเห็นได้ว่า เป็นจุดสีดำเล็กๆ ซึ่งเรียกว่าซูมิ ลักษณะของซันเก้จะคล้ายโชว่าคือ มี 3 สี ต่างกันตรงที่ไม่มีสีดำที่หัวนั่นเองค่ะ
- คินกินริน หรือ Kin Gin Rin สำหรับสายรักความสวยงามพลาดไม่ได้กับสายพันธ์นี้ คินกินริน มีความหมายว่า ประกายแวววาว ที่ขึ้นบนเกล็ดสีขาว ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะได้ประเภทคือ เบตะกิน, คาโดะกิน, ฮิโรชิม่ากินและทามะกิน ทั้งนี้สายพันธุ์ ปลาคราฟ นี้ต้องมีเกล็ดสีเงินอย่างน้อยสามแถว ระยิบระยับและจะยิ่งสว่างถ้าโดนแสงสะท้อน
- อุทสึริ โมโน หรือ Utsurimono สำหรับสายพันธ์ อุทสึรินั้น ได้พัฒนาสายพันธุ์โชว่า ซึ่งอุทสึริคุณภาพดีจะมีสีหมึกดำเด่นชัด ซึ่งเป็นแถบพาดตั้งแต่หัว, หลังลงมา ที่บริเวณท้องปลาโดยมีสายสลับขาวดำ ปัจจุบันอุทสึริมีเพียง 3 ชนิดเท่านั้น นั่นคือ ชิโร อุทสึริ (ขาวดำ), ไฮ อุทสึริ (ดำแดง) และคิ อุทสึริ (ดำเหลือง) ซึ่งในบรรดา 3 ชนิดนี้ปลาคราฟ สีเหลืองเป็นสายพันธ์ที่หายากที่สุด
- ตันโจ หรือ Tancho หนึ่งในสายพันธ์ ปลา คราฟ ที่หายากและเป็นที่ต้องการที่สุดในตลาดปลาคราฟ นี้เนื่องจากไม่สามารถเพาะพันธุ์เองได้ เอกลักษณ์ของปลาคราฟ จะมีจุดสีแดงกลางหัว ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างตา แต่สีแดงจะไม่ปิดบริเวณตาและจมูก ลำตัวของปลาคราฟ มีสีขาวบริสุทธิ์
- ชูซุย หรือ Shusui หากใครกำลังมองหา ปลา คราฟ สายพันธ์ที่ไม่มีเกล็ด ต้องสายพันธ์นี้เลย ซึ่งสายพันธ์ นี้ได้เกิดมาจากการผสมพันธุ์ระหว่าง พันธุ์อาซากิกับ Doitsugoi ซึ่งเป็น ปลาคราฟ เยอรมันที่ไม่มีเกล็ด และ สีของซูซุยจะชัดมาก ปลา คราฟ ชนิดนี้จะมีแค่เกร็ดสีฟ้าเฉพาะที่กลางหลัง แล้วมีลวดลายซ้ายขวาที่สมมาตรกัน ซึ่งสวยงามมาก
- อาซากิ หรือ Asaki ซึ่งสายพันธ์มีเกล็ดสีน้ำเงินแกมเทาบนตัว ส่วนบริเวณแก้ม ใต้ท้องด้านข้างลำตัวยาวไปถึงหางควรเป็นสีแดง และสายพันธ์อาซากิที่ดีหัวของปลาคราฟ จะเป็นสีขาวบริสุทธิ์อีกด้วยค่ะ
- โกโรโมะ หรือ Koromo ซึ่งโกโรโมะ จะมีความหมายว่า “เสื้อคลุม” ซึ่งสายพันธ์นี้ถือกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น สายพันธุ์ ปลา คราฟ โกโรโมะนั้นได้เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างโคฮาคุกับอาซากิ จุดเด่นของสายพันธ์ปลาคราฟ นี้จะมีผิวสีขาวอมฟ้า ลวดลายสีแดง และมีตาข่ายรูปพระจันทร์เสี้ยวเหลื่อมช้อนบนเกล็ด ซึ่งการเพาะพันธุ์โคโรโมะให้สวยตามตำรา ทำได้ยากมาก
- โอกอน หรือ Ogon สำหรับสายพันธ์สุดท้ายนั้นคือ โอกอนซึ่งเป็น ปลา คราฟ ที่มีพันธุ์ที่ไม่มีลวดลายอะไร แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Platinum (สีขาวเทา) และ Yamabuki (สีทองบรอนซ์) และสายพันธ์นี้เป็นที่นิยมในแวดวงหมู่คนเลี้ยงปลาคราฟ อีกด้วยค่ะ
5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการทำบ่อ ปลาคราฟ ?
หลังจากตัดสินใจเลือกสายพันธ์ ปลา คราฟ ได้แล้วนั้น เราก็จะต้องมีบ่อให้น้องปลาเขาใช่ไหมล่ะคะ บทความนี้เอาใจคนเลี้ยง ปลา คราฟ เรามาดูวิธีทำบ่อให้ปลาคราฟ กันเลยค่ะ
เริ่มจากการเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงปลาคราฟ โดยจะเริ่มจากขนาดบ่อที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาคราฟ ซึ่งเราควรเริ่มต้นที่ขนาดกว้างxยาวxลึก อยู่ที่ 80x120x50 เซนติเมตร เป็นต้นไป นอกจากนี้บ่อของ ปลา คราฟ ควรมีสะดือที่ก้นบ่อ เพื่อช่วยให้ติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำและเก็บสิ่งสกปรก โดยขนาดสะดือของบ่อปลาคราฟ จะอยู่ที่ประมาณ 1×2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว เลยทีเดียวค่ะ
ขั้นตอนต่อมาในการทำบ่อปลาคราฟ โดยเราจะวางระบบกรองน้ำเริ่มจากการสร้างบ่อกรองน้ำโดยบ่อกรองน้ำควรมีขนาด 1 ใน 3 ของบ่อปลาคราฟ ซึ่งจะมีความลึกกว่าตัวบ่อปลาคราฟ เพื่อให้น้ำไหลไปบ่อกรองได้ง่ายอีกด้วยค่ะ จากนั้นให้เราวางระบบกรองน้ำในส่วนของท่อน้ำและเครื่องปั๊มน้ำ โดยมีท่อน้ำจากสะดือบ่อไปยังบ่อกรองน้ำ ปั๊มน้ำ ท่อน้ำทิ้งและท่อน้ำกลับไปยังบ่อปลาคราฟ ติดตั้งหัวพ่นอากาศ วาล์ว และน้ำพุหรือน้ำตกเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ปลาคราฟ และแรงดันน้ำจะช่วยให้สิ่งปฏิกูลในบ่อปลาคราฟไหลไปรวมกันบริเวณสะดือบ่อปลาคราฟ
ต่อไปเป็นขั้นตอนการวางระบบท่อน้ำล้นตามระดับความสูงของน้ำในบ่อ ปลา คราฟ ที่เราต้องการเพื่อให้ควบคุมระดับน้ำในบ่อปลาคราฟ โดยน้ำที่ล้นออกมาจะไหลเวียนไปยังท่อระบายน้ำตามระบบกรองน้ำที่วางไว้และขั้นตอนสุดท้าย เมื่อสร้างบ่อปลาคราฟ และเราได้ติดตั้งระบบกรองน้ำเสร็จให้ใส่น้ำในบ่อปลาคราฟและแช่ไว้ประมาณ 1 สัปดาห์แล้วปล่อยน้ำออก จากนั้นเปิดน้ำกักไว้ในบ่อปลาคราฟอีกประมาณ 3 วันแล้วค่อยเปิดระบบกรองน้ำเป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ
5 ทริคในการดูแลและทำความสะอาดบ่อ ปลา คราฟ?
1. เริ่มจากการใส่ออกซิเจนในบ่อปลาคราฟ ให้มีปริมาณเหมาะสมกับจำนวนของ ปลา คราฟ ที่เราจะเลี้ยง และไม่เลี้ยงปลาคราฟในบ่อจำนวนมากเกินไป อัตราส่วนของจำนวน ปลา คราฟ นั้นควรเหมาะสมกับความกว้างของ บ่อปลาคราฟ
2. ขั้นตอนต่อมาในการล้างบ่อปลาคราฟ ควรเน้นการล้างทำความสะอาดบ่อกรองแทนการล้างบ่อปลาคราฟ โดยตรงเพราะอาจทำให้ปลาช็อกน้ำที่เปลี่ยนใหม่ได้ โดยวิธีการคือบล็อกน้ำระหว่างบ่อเลี้ยงปลาคราฟ กับบ่อกรอง ดูดน้ำในบ่อกรองทิ้งแล้วน้ำน้ำในบ่อเลี้ยงมาทำความสะอาดบ่อกรองแทนการใช้น้ำประปาโดยตรงเพื่อป้องกันคลอรีน
3. สำหรับในขั้นตอนของการดูดน้ำออกจากบ่อและกำจัดสิ่งปฏิกูลอาจเหลือตะไคร่น้ำไว้เพราะเป็นแหล่งอาหารของปลาคราฟ และสามารถช่วยดูดสิ่งสกปรกหรือแอมโมเนียในน้ำ
4. จากนั้นนำใส่จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำทุกครั้งหลังเปลี่ยนน้ำในบ่อปลาคราฟ และบ่อกรอง
5. ต่อจากนั้นให้ดูดล้างตะกอนออกจากบ่อกรองบ่อยๆ และให้อาหารพอเหมาะกับจำนวนปลาคราฟ ไม่ให้อาหารปลาคราฟมากเกินไปจนเหลือเพราะจะทำให้น้ำในบ่อปลาคราฟ เสียได้อีกด้วยค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับสายพันธ์ของ ปลา คราฟ ที่ได้นำมาฝากในวันนี้นั้นมีทั้งความสวยงามและความหลากหลายทางสายพันธ์ แถมยังน่าซื้อมาเลี้ยงในบ่อปลาทั้งนั้นเลยใช่ไหมล่ะคะ นอกจากนี้วิธีการทำบ่อปลา คราฟ ที่ได้นำมาฝากในวันนี้นั้นเรายังสามารถทำได้อย่างง่ายดายอีกด้วยค่ะ หากใครพร้อมแล้วเราไปหามาเลียงกันเลยค่ะ หลังจากเลี้ยงแล้วอย่าลืมดูแลบ่อปลา และสภพาแวดล้อมอื่นๆ ของ ปลา คราฟ ให้ดีด้วยค่ะ ไปกันเลย