แหล่งตกปลาชะโด หากพูดถึงปลาน้ำจืดขนาดใหญ่แล้วล่ะก็ ปลาชะโดคงเป็นหนึ่งในปลาที่นักตกปลาหลายท่านนึกถึง อย่างที่ทราบกันค่ะ ปลาชะโดเป็นปลาที่เป็นรู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่นักตกปลาธรรมชาติ เพราะเป็นหนึ่งในปลาที่นับได้ว่าใหญ่ที่สุดสายพันธ์หนึ่งในกลุ่มปลาน้ำจืดค่ะ มาถึงตรงนี้ ใครที่สนใจอยากจับปลาใหญ่ขอให้ใจเย็นๆ ก่อนที่เราจะไปพูดถึงแหล่งตกปลาชะโด เรามาทำความรู้จักกับน้องให้มากขึ้นกันก่อนค่ะ
ปลาชะโด เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุลเดียวกันกับปลาช่อนค่ะ และยังถูกนับว่าเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในสกุลนี้ ลักษณะของปลาชะโดมีความเป็นทรงกระบอก กลมยาว เมื่อโตเต็มวัยอาจมีความยาวมากตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 1.5 เมตร หรือในบางกรณี อาจยาวถึง 2 เมตรได้เลย นอกจากขนาดตัวที่ยาวมากแล้ว น้ำหนักตัวของปลาชะโดก็ไม่เบาเช่นกันค่ะ ด้วยน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 20 กิโลกรัมต่อหนึ่งตัวเลยทีเดียวเชียว
ปลาชะโดในตอนที่ยังตัวเล็ก จะมีลายแถบสีเหลืองพาดอยู่ที่ข้างตัวค่ะ ปลาชะโดในวัยนี้ยังถูกเรียกอีกชื่ออหนึ่งด้วยว่า “ลูกครอก” อีกด้วย ลูกครอกมักมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งอาจมีจำนวนมากถึง 100 ตัว เลย และเกาะติดกับพ่อแม่ของมัน และเมื่อถึงวัยที่มีการเปลี่ยนสี ชื่อก็จะถูกเรียกเปลี่ยนไปตามสีที่เปลี่ยนไปด้วยค่ะ นั่นคือ ปลาแมลงภู่ ที่มีสีแววๆเหลือบๆคล้ายแมลงภู่ และชะโดถ่านที่มีสีดำทั้งตัวนั่นเองค่ะ
ปลาชะโดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวมากอยู่แล้วเป็นทุนเดิม แต่มันจะยิ่งดุร้ายมากขึ้นในฤดูผสมพันธ์ค่ะ โดยเฉพาะปลาชะโดตัวผู้ที่จะโจมตีสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้ทุกชนิดที่ผ่านเข้าไปใกล้รังของมัน และด้วยจำนวนลูกครอกที่เยอะ + พ่อแม่ที่ดุ จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ปลาชะโดสามารถขยายพันธ์ได้ครั้งละมากๆ กล่าวได้ว่า นอกจากจะตัวใหญ่ที่สุดในสกุลปลาช่อนแล้ว ยังขยายพันธ์ได้เร็วที่สุดในสกุลนี้อีกด้วยค่ะ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่มหาศาล แต่ คนไม่นิยมรับประทานปลาชะโดมากนักเนื่องจาก ปลาชะโดนั้นมีเนื่องแข็งและคาวค่ะ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมเท่าปลาช่อนที่ตัวเล็กกว่า และ อร่อยกว่า ปลาชะโดจึงมักจะถูกนำมาทำปลาเค็มก่อนรับประทานค่ะ นอกจากนี้แล้ว ปลาชะโดยังถูกเลี้ยงในหมวดของปลาสวยงามด้วยในบางครั้ง ลูกของปลาชะโดสามารถพบได้ที่แหล่งจำหน่ายปลาสวยงามอยู่เสมอ และราคาไม่แพงอีกด้วย
ในปัจจุบัน มีการทำกระชังสำหรับเลี้ยงปลาชะโดหลายแห่งในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำเจ้าพระยา หรือ แม้แต่เขื่อนศรีนครินค่ะ และนอกจากประเทศไทยแล้ว ปลาชะโดสามารถพบได้ในประเทศอื่นๆในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนตอนใต้ มาเลเซีย และ อินเดียอีกด้วยค่ะ
สำหรับนักตกปลาแล้ว ปลาชะโดสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการขึ้นจากน้ำของมันค่ะ โดยจะออกมาที่ผิวน้ำ 20 นาที โดยจะอยู่แถวตลิ่ง ที่มีร่มไม้ค่ะ
แหล่งตกปลาชะโด แนะนำ
สำหรับ แหล่งตกปลาชะโด แนะนำ อาจจะต้องออกเดินทางกันสักหน่อย เพราะแหล่งตกปลาชะโดนี้ อยู่ใกล้กับตลาดบางปะหัน จังหวัดอยุธยาค่ะ สำหรับคนที่มีรถส่วนตัว เส้นทางที่จะไปถึงที่นี่บอกได้ว่าไม่ยากเลยค่ะ ถ้าออกเดินทางจากกรุงเทพ ไม่ว่ายังไงก็ต้องเข้าไปผ่านตลาดบางปะหันอยู่แล้ว เมื่อตรงไปจนเลยทางแยกเข้านิคุมอุตสาหกรรมไปอีก 500 เมตร จะมีทางเข้าอยู่ด้านซ้าย ตรงเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตรก็จะพบบ่อเลยค่ะ โดยปลาในบ่อนี้ เน้นๆเลยค่ะว่าเป็น ‘ปลาชะโดล้วนๆ’ ขนาดมีตั้งแต่ครึ่งกิโลกรัมไปจนถึงเป็นสิบกิโลกรัมเลยทีเดียวค่ะ
สรุปแหล่งตกปลาชะโด
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าปลาชะโดเป็นปลาที่ดุร้าย ยิ่งช่วงฤดูผสมพันธุ์ก็ยิ่งดุร้ายจนมีการไปทำร้ายปลาสายพันธุ์อื่น และมีการผสมพันธุ์ที่ค่อนข้างบ่อย ทำให้เกิดจำนวนของปลาชะโดเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมาก ฉะนั้นหากนักตกปลามีความสนใจที่จะตกปลาชะโดจึงสามารถตกได้ผ่าน แหล่งตกปลาชะโด แบบธรรมชาติได้ไม่ยากเนื่องจากมีจำนวนที่ค่อนข้างมาก และหากสนใจเป็นแหล่งตกปลาชะโดแบบบ่อเลี้ยงก็มีเช่นกัน แต่อาจจะไม่เป็นที่นิยมเท่าปลาชนิดอื่นเนื่องจากรสชาติของปลานับว่าไม่ถูกปากของผู้กินเท่าที่ควรเพราะเนื้อมีความแข็งและเนื้อมีรสชาติคาว ฉะนั้นหากผู้เข้าใช้บริการมีเป้าหมายในการตกปลาเพื่อไปใช้เป็นการประกอบอาหาร ปลาชะโดจะไม่ใช่คำตอบสำหรับผู้ตกปลา หรือหากได้มาก็ต้องนำมาเป็นรูปแบบการถนอมอาหารเช่นการนำมาทำเป็นปลาเค็มเพื่อลดความคาวของตัวเนื้อปลา และด้วยเหตุผลที่ไม่ค่อยในการนำมาประกอบอาหาร ตัวปลาชะโดจึงถูกนำมาทำให้เป็นปลาประเภทเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากกว่านำมาประกอบอาหาร ด้วยเหตุผลนี้จำนวนในการถูกตกเพื่อนำออกจากบ่อนับเป็นจำนวนที่ไม่มากเท่าปลาประเภทอื่น และสาเหตุที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือเนื่องจากความดุร้ายขอปลาชะโดที่ทำร้ายปลาสายพันธุ์อื่น ทำให้ระบบนิเวศของแหล่งน้ำเป็นปัญหาในระดับหนึ่ง ทางบ่อเลี้ยงปลาบางที่จึงมีการเพิ่มจำนวนปลาชะโดที่ค่อนข้างน้อยหรือแทบไม่มีการเพิ่มจำนวนขึ้นมาเลย เพื่อไม่ให้ระบบนิเวศภายในบ่อปลาที่เลี้ยงเพื่อใช้ในการตกเกิดความเสียหายมากจนเกินจะแก้ปัญหาได้ หรือบางที่ตัดปัญหาด้วยการสร้างบ่อแยกปลาชะโดโดยเฉพาะ หรือเปิดให้ตกแต่ปลาชะโดโดยเฉพาะอย่างบ่อเลี้ยงปลาชะโดที่แนะนำไปในส่วนด้านบน นับว่าเป็นประเภทบ่อปลาที่เปิดเป็นจำนวนไม่มาก หากผู้เข้าใช้บริการชื่นชอบ หรือมีความสนใจในตัวปลาชะโดเป็นพิเศษและสามรถแก้ปัญหาของการทำลายระบบนิเวศของปลาชะโดหรือแก้ปัญหาของรสชาติเนื้อปลาชะโดได้อย่างดีจนเกิดความ สถานที่ดังกล่าวก็นับเป็นสถานที่ที่น่าสนใจแก่นักตกปลาเป็นอย่างมาก เนื่องจากการตกแต่ละครั้งก็จะได้ปลาชะโดทั้งหมด รวมทั้งได้ลูกครอกหรือเรียกว่าลูกปลาชะโดจากบ่อเลี้ยงปลาชะโดได้ ซึ่งสามารถนำไปประกอบอาหารได้เช่นกันกับปลาชะโดที่โตเต็มที่แล้ว Ufabet